วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

 
วิธีการทำข้าวกระยาสารท
 

วิธีการทำข้าวกระยาสารท



      ารทำขนมกระยาสารท


ส่วนประกอบของขนมมี  ถั่ว   งา   ข้าวตอก    ข้าวเม่า    น้ำตาลปีบ   แบะแซ   มะพร้าว(กะทิ)

อุปกรณ์ในการทำขนม   กระทะใหญ่      กะทะเล็ก     ไม้พาย    เตา     ฟืน   ถาด    กะช่อน   ตะหลิว        หม้อ    อุปกรณ์สำหรับห่อขนม     อุปกรณ์ในการทำความสะอาด     ถังน้ำ   ขวดสำหรับกดให้ขนมแบน

วิธีการทำ
-
นำกะทะใบใหญ่ตั้งไฟใส่นำกะทิเคี้ยวให้กะแตกมัน
-
ใช้กะทะใบเล็กตั้งไฟคั่วถั่ว งา และข้าวเม่า
-
ใส่นำตาลปีบลงไปคนให้นำตาลและกะทิเข้ากันคนไปเรื่อยจนนำตาลเหนี่ยวโดยการทดลองหยดนำลงในนำถ้านำตาลจับก้อนแสดงว่าความเหนียวใช้ได
-
ใส่แปะแซลงไปคนให้เข้ากัน
-
ลดไฟให้อ่อนมากๆใส่ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา แล้วคนให้เข้ากัน
-
ยกกะทะลงจากไฟนำขนมที่ได้มาบรรจุหีบห่อให้สวยงาม ชั่งนำหนัก กำหนดราคาขาย

 

ความหมายของกระยาสารท
 
 

อยากรู้ว่ากระยาสารทมันคืออะไร
สารท เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ เดิมเป็นฤดูทำบุญด้วยเอาข้าวที่กำลังท้อง (ข้าวรวงเป็นน้ำนม) มาทำยาคูและกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์ อย่างนี้เรียกว่า กวนข้าวทิพย์
ส่วนผู้นับถือพุทธศาสนานำคตินั้นมาใช้ แต่เปลี่ยนเป็นถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติในปรโลก สำหรับชาวบ้านทั่วไปมักทำแต่กระยาสารท เป็นต้น
(
ต่างจาก ศราทธ์)
ความเป็นมาของกระยาสารท
 
สารทเป็นนักขัตฤกษ์ ถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลว่าเทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ คือ วัน เวลา เดือน และปีที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี และโดยที่มนุษยชาติดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ เมื่อถึงกึ่งปีเป็นฤดูกาลที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม จึงได้มีกรรมวิธีปรุงแต่งที่เรียกกันว่า กวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวปายาส ข้าวยาคู และขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า กระยาสารท แล้วประกอบการบำเพ็ญกุศลถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาทั้งอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนผู้มีพระคุณ และแจกสมนาคุณญาติมิตรตามคติที่ชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกชน แม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิพราหมณ์ ชาวไทยก็นิยมรับเพราะเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีพึงยึดถือปฏิบัติ

พิธีสารท นอกจากเป็นประเพณีของชนชาวไทยทั่วไปแล้ว ในส่วนของพระมหากษัตริย์ที่เรียกว่าพิธีของหลวงนั้นในสมัยสุโขทัย มีในตำนานนางนพมาศว่า

“...
ราชบุรุษชาวพนักงานตกแต่งโรงพิธีในพระราชนิเวศน์ ตั้งก้อนเส้าเตาเพลิงแลสัมภาระเครื่องใช้เบ็ดเสร็จ นายนักการระหารหลวงก็เก็บเกี่ยวครรภสาลีและรวงข้าวมาตำเป็นข้าวเม่า ข้าวตอกส่งต่อมณเฑียรวังเวรเครื่อง นายพระโคก็รีดน้ำชีรารสมาส่งดุจเดียวกัน ครั้งได้ฤกษ์รับสั่งให้จ่าชาวเวรเครื่องทั้งมวลตกแต่งปรุงมธุปายาสปรุงปนระดมเจือล้วนแต่โอชารส มีขัณฑสกร น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล นมสด เป็นต้นใส่ลงไปในภาชนะซึ่งตั้งบนเตาเพลิง จึงให้สาวสำอางกวนมธุปายาสโดยสังเขปชาวดุริยางค์ดนตรีก็ประโคมพิณพาทย์ ฆ้อง กลอง เล่นการมหรสพ ระเบงระบำล้วนแต่นารี แล้วพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยราชบริพารน้ำข้าวปายาสไปถวายพระมหาเถรานุเถระ

ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้สืบประเพณีพระราชพิธีสารทมาจัดทำ เช่น ในรัชกาลที่ ๑ มีพระราชพิธีสารทกวนข้าวทิพย์ รัชกาลต่อมาได้ทำบ้างงดบ้าง จนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีสารท มีกำหนดการดังนี้

เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวังรับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่าราชประเพณีแต่ก่อนมา ถึงเวลากลางปีเคยมีการพระราชพิธีสารทกวนข้าวทิพย์ปายาสทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายยาคูแด่พระสงฆ์ ด้วยว่าประจวบฤดูข้าวในนาแรกออกรวงเป็นกษีรรสพอจะเริ่มบริจาคเป็นทานถวายแด่ภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาได้เรียกว่าสาลีคัพภทาน แต่เว้นว่างมิได้กระทำมาเสียนานมีพระราชประสงค์ที่จะทรงกระทำในปีนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีสารทในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แต่งสาวพรหมจารีราชอนุวงศ์ให้กวนข้าวทิพย์ปายาส แลแผ่พระราชกุศลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน ให้รับรวงข้าวอ่อนไปแต่งเป็นยาคูบรรจุโถทำด้วยฟักเหลืองประดับประดาอย่างวิจิตรพึงชม ถวายโดยเสด็จในการพระราชกุศลพิธีสารท มีกำหนดการดังนี้

วันที่ ๒๕ กันยายน ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๑๕ ค่ำ ปีเถาะ เจ้าพนักงานจะได้แต่งการในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เชิญพระพุทธรูปชัยวัฒน์ทั้ง ๗ รัชกาลแลพระสุพรรณบัฎ พระมหาสังข์ พระเต้าน้ำพระพุทธมนต์ ทั้งพระแสงราชาวุธ จัดตั้งไว้บนพระแท่นเศวตฉัตร ตั้งโต๊ะจีนสองข้างประดิษฐานพระพุทธรูปนิรันตรายบนโต๊ะข้างตะวันออก ประดิษฐานรูปพระสยามเทวาธิราชบนโต๊ะข้างตะวันตก ตั้งเครื่องนมัสการสรรพสิ่งทั้งปวงสำหรับพระราชพิธีพร้อมกับทั้งตกแต่งโรงพระราชพิธีที่กวนข้าวทิพย์ปายาส ณ สวนศิวาลัย แลแต่งหอเวทวิทยาคมพราหมณ์เข้าพิธีเสร็จสรรพ

เวลา ๕.๐๐ ล.ท. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการทรงศีล อาลักษณ์อ่านประกาศพระราชพิธีสารท

เมื่ออาลักษณ์อ่านประกาศจบ พระสงฆ์ ๓๐ รูปสวดพระพุทธมนต์ สาวพรหมจารีราชอนุวงศ์ซึ่งจะกวนข้าวทิพย์ปายาสฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ในพระสูตร ครั้นสวดจบสมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรกถวายพระพรลา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ ทรงเจิมพระราชทานสาวพรหมจารีและท้าวนางนำไปสู่โรงพระราชพิธี ณ สวนศิวาลัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปเข้าโรงพระราชพิธี ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์สงในกะทะแลทรงเจิมพายแล้วทรงรินน้ำพระพุทธมนต์ในพระเต้าลงกะทะโดยลำดับ โปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าน้อย ๆ นำเครื่องปรุงอเนกรสหยอดตามเสด็จไป เจ้าพนักงานเทถุงเครื่องกวนลงไปในกะทะสาวพรหมจารีกวนข้าวทิพย์ปายาส เจ้าพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร เครื่องดุริยางค์ พราหมณ์ หลั่งน้ำเทพมนต์ลงทุกกระทะเพื่อเป็นสวัสดิมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับ ครั้นกวนข้าวทิพย์ปายาสได้ที่แล้ว เจ้าพนักงานบรรจุเตียบนำไปตั้งไว้ในมณฑลพระราชพิธี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

วันที่ ๒๖ กันยายน ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีเถาะ เวลาเช้าเจ้าพนักงานจะได้รับโถยาคูซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งมาโดยเสด็จการพระราชกุศล จัดตั้งเรียงไว้ถวายตัว

เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงศีล พระสงฆ์ถวายพรพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรโถยาคู ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งมาถวาย ทรงเลือกปักธงชื่อพระตามประราชประสงค์จำนงพระราชทานโถไหนแก่รูปไหนแล้ว เจ้าพนักงานยกไปตั้งตามที่ทางประเคนภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ครั้นพระสงฆ์ฉันของคาวแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ประเคนของหวานกับทั้งยาคูแลข้าวทิพย์ปายาส ครั้นฉันแล้วทรงประเคนเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรกถวายพระพรลาแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ เจ้าพนักงานจำแนกข้าวทิพย์ปายาสพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ กับข้าทูลละอองธุลีพระบาททั่วกันแล้ว เป็นเสร็จการ
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki