วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
โครงงานอาชีพ
คณะผู้จัดทำ
นาย อเนชา แสงกล้า เลขที่ 7
นาย กฤษดา กุลโชติ เลขที่ 11
นางสาวทัศนีย์ เคนบุปผา เลขที่ 40
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
CAI ช่วยสอน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2556
โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร
บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลงาน
สรุป
การทำโครงงานกระยาสารทครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นขนมเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ และลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
อภิปราย
1.
สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป
2.
ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
3.
นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
ในการทำโครงงานเรื่องกระยาสารทในครั้งนี้
ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์ ดังนี้
1.
รู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี
2.
ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน
เพื่อการศึกษาต่อไป
3.
นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.
ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการทำกระยาสาร
ข้อเสนอแนะ
-ควรหาสูตรการทำกระยาสารทได้ทางเว็บไซต์ต่างๆได้
บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการดำเนินงาน
อุปกรณ์
1. กระทะ เตา ฟืน แบบพิมพ์ที่ใส่กระยาสารท ถุงพลาสติก ยางรัด มีด
2.
เครื่องปรุง (ส่วนผสม)
3.
กะทิ 5 กิโลกรัม น้ำตาลปีบ 7 กิโลกรัม
4. แบะแซ 7 กิโลกรัม ถั่วลิสง 15 กิโลกรัม
5.
งา 2 กิโลกรัม ข้าวตอก 0.5 กิโลกรัม
วิธีการทำกระยาสารท
1.
นำถั่วลิสงไปคั่วให้สุก กะเทาะเปลือกออกให้หมด และคลึงให้ถั่วแตกออกเป็นซีก
2.
นำงาไปคั่วให้สุก มีสีเหลืองอ่อนและหอม
3.
นำกะทิ น้ำตาลปีบ แบะแซ ใส่ในกระทะที่ตั้งไฟตามส่วนผสมดังกล่าว แล้วเคี่ยวให้เข้ากัน
โดยเคี่ยวประมาณ 1 ชั่วโมง
4.
นำถั่วลิสงคั่ว งาคั่ว ข้าวตอก ใส่คนไปแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
โดยใช้ไฟอ่อน ๆ เมื่อส่วนผสมต่าง ๆ เข้ากันดีแล้ว ให้ยกกระทะลง
5.
ตักใส่แบบพิมพ์ ตามแบบที่เราต้องการหรือใส่ถุงพลาสติกเลยก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของตลาด
แต่ส่วนมากจะตักใส่แบบพิมพ์ และตัดเป็นชิ้น ๆ เล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการรับประทาน
ขนมกระยาสารท นอกจากเป็นขนมที่ใช้ในการทำบุญในเทศกาลสารทของไทยแล้ว
ยังเป็นขนมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และอุปนิสัยของคนไทย ที่ต้องใช้ความประณีตในการทำเป็นอย่างยิ่ง
จึงจะได้ขนมที่แสนอร่อย สวยงาม น่ารับประทาน
สมควรอย่างยิ่งที่พวกเราควรอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่คนไทยตลอดไป
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ประวัติขนมกระยาสารท ขนมไทยสำหรับงานบุญ
ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ
มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของ
ไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี
และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้
ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารทด้วยนะ
เอาเป็นว่าเรามารู้ประวัติของขนมกระยาสารทไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ
แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน
แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน
ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารทมีอยู่ 2
ตำราด้วยกัน ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคนชื่อ มหากาลผู้พี่
และจุลกาลผู้น้อง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน
จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย
ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย
แต่มหากาลไม่เห็นด้วย มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน
เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้
จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า แล้วต้มกับน้ำนมสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง
น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์
เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์
จุลกาลได้ทูลความปราถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร
และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้นออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม
จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นตลอดไป
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า
สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์
มีเปรตตนหนึ่งปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้าเฝ้าพระเจ้าอาชาติศัตรู
เปรตตนนั้นได้เผยความจริงว่า
ตนเคยเป็นพระสงฆ์แต่มีความโลภจึงต้องชดใช้กรรมเป็นเปรต แล้วเปรตตนนั้นก็ขอให้พระองค์พระราชทานกระยาสารท
ซึ่งปรุงแต่งด้วยของ 7 อย่าง ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง ถั่ว งา
ข้าวตอก ข้าวเม่า น้ำนมวัว เพื่อประทังความหิวโหย
ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นตรงซึ่งกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทำขนมกระยาสารทแล้วกรวดน้ำอุทิศให้แก่เปรตตามที่ขอไว้
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย หรือเทศกาลรกวนขนมกระยาสารทจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย หรือเทศกาลรกวนขนมกระยาสารทจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง
กระยาสารท
เป็นอาหารที่ทำให้ฤดูสารท กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว
น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน
ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า
ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน
แล้วนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ
เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด
โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุกทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานาน
แล้วตามความเชื่อถือ คนผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะพากันหยุดงาน
ตระเตรียมสิ่งของทำบุญที่เรียกว่ากระยาสารทเป็นของหวาน ประจำเทศกาลสารท
นิยมทำกันก่อนวันสิ้นเดือนเป็นวันโกน วันแรม 14
ค่ำ เดือน 10 นี้จึงมีการกวนกระยาสารทในงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
ความหมายของกระยาสารท
กระยาสารทคือ
สารท เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ
เดิมเป็นฤดูทำบุญด้วยเอาข้าวที่กำลังท้อง (ข้าวรวงเป็นน้ำนม)
มาทำยาคูและกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์ อย่างนี้เรียกว่า กวนข้าวทิพย์
ส่วนผู้นับถือพุทธศาสนานำคตินั้นมาใช้ แต่เปลี่ยนเป็นถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติในปรโลก สำหรับชาวบ้านทั่วไปมักทำแต่กระยาสารท เป็นต้น ความเป็นมาของกระยาสารท
สารทเป็นนักขัตฤกษ์
ถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลว่าเทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ คือ วัน เวลา เดือน
และปีที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี
และโดยที่มนุษยชาติดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ เมื่อถึงกึ่งปีเป็นฤดูกาลที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม
จึงได้มีกรรมวิธีปรุงแต่งที่เรียกกันว่า กวนข้าวทิพย์ หรือ ข้าวปายาส ข้าวยาคู
และขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า กระยาสารท
แล้วประกอบการบำเพ็ญกุศลถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาทั้งอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนผู้มีพระคุณ
และแจกสมนาคุณญาติมิตรตามคติที่ชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกชน
แม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิพราหมณ์
ชาวไทยก็นิยมรับเพราะเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีพึงยึดถือปฏิบัติพิธีสารท
นอกจากเป็นประเพณีของชนชาวไทยทั่วไปแล้ว
ในส่วนของพระมหากษัตริย์ที่เรียกว่าพิธีของหลวงนั้นในสมัยสุโขทัย
มีในตำนานนางนพมาศว่า
“ราชบุรุษชาวพนักงานตกแต่งโรงพิธีในพระราชนิเวศน์ ตั้งก้อนเส้าเตาเพลิงแลสัมภาระเครื่องใช้เบ็ดเสร็จ นายนักการระหารหลวงก็เก็บเกี่ยวครรภสาลีและรวงข้าวมาตำเป็นข้าวเม่า ข้าวตอกส่งต่อมณเฑียรวังเวรเครื่อง นายพระโคก็รีดน้ำชีรารสมาส่งดุจเดียวกัน ครั้งได้ฤกษ์รับสั่งให้จ่าชาวเวรเครื่องทั้งมวลตกแต่งปรุงมธุปายาสปรุงปนระดมเจือล้วนแต่โอชารส มีขัณฑสกร น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล นมสด เป็นต้นใส่ลงไปในภาชนะซึ่งตั้งบนเตาเพลิง จึงให้สาวสำอางกวนมธุปายาสโดยสังเขปชาวดุริยางค์ดนตรีก็ประโคมพิณพาทย์ ฆ้อง กลอง เล่นการมหรสพ ระเบงระบำล้วนแต่นารี แล้วพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยราชบริพารน้ำข้าวปายาสไปถวายพระมหาเถรานุเถระ”
ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้สืบประเพณีพระราชพิธีสารทมาจัดทำ เช่น
ในรัชกาลที่ ๑ มีพระราชพิธีสารทกวนข้าวทิพย์ รัชกาลต่อมาได้ทำบ้างงดบ้าง จนถึงปีพุทธศักราช
๒๔๗๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
โปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีสารท มีกำหนดการดังนี้
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวังรับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่าราชประเพณีแต่ก่อนมา ถึงเวลากลางปีเคยมีการพระราชพิธีสารทกวนข้าวทิพย์ปายาสทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายยาคูแด่พระสงฆ์ ด้วยว่าประจวบฤดูข้าวในนาแรกออกรวงเป็นกษีรรสพอจะเริ่มบริจาคเป็นทานถวายแด่ภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาได้เรียกว่าสาลีคัพภทาน แต่เว้นว่างมิได้กระทำมาเสียนานมีพระราชประสงค์ที่จะทรงกระทำในปีนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีสารทในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แต่งสาวพรหมจารีราชอนุวงศ์ให้กวนข้าวทิพย์ปายาส แลแผ่พระราชกุศลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน ให้รับรวงข้าวอ่อนไปแต่งเป็นยาคูบรรจุโถทำด้วยฟักเหลืองประดับประดาอย่างวิจิตรพึงชม ถวายโดยเสด็จในการพระราชกุศลพิธีสารท มีกำหนดการดังนี้
วันที่ ๒๕ กันยายน ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์
เดือน ๑๐ แรม ๑๕ ค่ำ ปีเถาะ เจ้าพนักงานจะได้แต่งการในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
เชิญพระพุทธรูปชัยวัฒน์ทั้ง ๗ รัชกาลแลพระสุพรรณบัฎ พระมหาสังข์ พระเต้าน้ำพระพุทธมนต์
ทั้งพระแสงราชาวุธ จัดตั้งไว้บนพระแท่นเศวตฉัตร
ตั้งโต๊ะจีนสองข้างประดิษฐานพระพุทธรูปนิรันตรายบนโต๊ะข้างตะวันออก
ประดิษฐานรูปพระสยามเทวาธิราชบนโต๊ะข้างตะวันตก
ตั้งเครื่องนมัสการสรรพสิ่งทั้งปวงสำหรับพระราชพิธีพร้อมกับทั้งตกแต่งโรงพระราชพิธีที่กวนข้าวทิพย์ปายาส
ณ สวนศิวาลัย แลแต่งหอเวทวิทยาคมพราหมณ์เข้าพิธีเสร็จสรรพ
เวลา ๕.๐๐ ล.ท. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการทรงศีล อาลักษณ์อ่านประกาศพระราชพิธีสารท เมื่ออาลักษณ์อ่านประกาศจบ พระสงฆ์ ๓๐ รูปสวดพระพุทธมนต์ สาวพรหมจารีราชอนุวงศ์ซึ่งจะกวนข้าวทิพย์ปายาสฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ในพระสูตร ครั้นสวดจบสมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรกถวายพระพรลา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ ทรงเจิมพระราชทานสาวพรหมจารีและท้าวนางนำไปสู่โรงพระราชพิธี ณ สวนศิวาลัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปเข้าโรงพระราชพิธี
ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์สงในกะทะแลทรงเจิมพายแล้วทรงรินน้ำพระพุทธมนต์ในพระเต้าลงกะทะโดยลำดับ
โปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าน้อย ๆ นำเครื่องปรุงอเนกรสหยอดตามเสด็จไป เจ้าพนักงานเทถุงเครื่องกวนลงไปในกะทะสาวพรหมจารีกวนข้าวทิพย์ปายาส
เจ้าพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร เครื่องดุริยางค์ พราหมณ์
หลั่งน้ำเทพมนต์ลงทุกกระทะเพื่อเป็นสวัสดิมงคล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับ
ครั้นกวนข้าวทิพย์ปายาสได้ที่แล้ว เจ้าพนักงานบรรจุเตียบนำไปตั้งไว้ในมณฑลพระราชพิธี
ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
วันที่ ๒๖ กันยายน ตรงกับวันจันทร์ เดือน
๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีเถาะ
เวลาเช้าเจ้าพนักงานจะได้รับโถยาคูซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งมาโดยเสด็จการพระราชกุศล
จัดตั้งเรียงไว้ถวายตัว
เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงศีล พระสงฆ์ถวายพรพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรโถยาคู ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งมาถวาย ทรงเลือกปักธงชื่อพระตามประราชประสงค์จำนงพระราชทานโถไหนแก่รูปไหนแล้ว เจ้าพนักงานยกไปตั้งตามที่ทางประเคนภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ครั้นพระสงฆ์ฉันของคาวแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ประเคนของหวานกับทั้งยาคูแลข้าวทิพย์ปายาส ครั้นฉันแล้วทรงประเคนเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอดิเรกถวายพระพรลาแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ เจ้าพนักงานจำแนกข้าวทิพย์ปายาสพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ กับข้าทูลละอองธุลีพระบาททั่วกันแล้ว เป็นเสร็จการ
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด กำแพงเพชร ช่วงเวลา ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคมของทุกปี
ความสำคัญ การกวนกระยาสารท กล้วยไข่ ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดขึ้นตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นต้นมา ในวันงานจะมีกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ทอดผ้าป่าแถว
การประกวดพืชผลทางการเกษตร เช่น กล้วยไข่ รวมทั้งการแสดงสินค้าพื้นเมือง
พิธีกรรม ชาวบ้านจะนำเอาพืชผลทางการเกษตรที่ผลิตได้มาร่วมกันทำกระยาสารท ได้แก่
ข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่วงา น้ำตาล น้ำผึ้ง มาร่วมกันกวน
หลังจากนั้นจึงนำถวายพระสงฆ์และผู้มาร่วมงานตามลำดับ
สาระ กระยาสารท
เป็นอาหารที่ทำในฤดูสารท (เดือนสิบ)
เป็นช่วงที่ผลิตผลทางการเกษตรของกำแพงเพชรอุดมสมบูรณ์
รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรก
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)